วันอังคารที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2566

กรรมฐานที่หลวงปู่ดู่สอน

 กรรมฐานที่หลวงปู่ดู่สอน

นั่งขัดสมาธิ ขาขวาทับขาซ้าย มือขวากำพระวางบนมือซ้าย ให้นิ้วมือทั้งสองจรดกัน วางบนหน้าตักพอสบาย ๆ ปรับกายให้ตรงผ่อนคลายกล้ามเนื้อทุกส่วน สูดลมหายใจยาว ๆ ลึก ๆ สัก ๓ ครั้ง  ให้ภาวนาว่า 

                                                                        พุทธัง สรณัง คัจฉามิ

                        ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ 

                       สังฆัง สรณัง คัจฉามิ 

จากนั้นจึงผ่อนลมหายใจให้เป็นไปตามธรรมชาติ ยังไม่ต้องนึกคิดสิ่งใด ทำใจให้ว่างๆ วางอารมณ์ทั้งที่เป็นอดีต และ อนาคต สักครู่เมื่อลมหายใจเริ่มละเอียดและจิตใจเริ่มโปร่งเบาขึ้นบ้างแล้วจึงค่อยเริ่มบริกรรมภาวนาไว้ระหว่างคิ้วทั้งสอง (เอาสติมาแตะรู้เบาๆ) แล้วตั้งใจภาวนา

              คาถาไตรสรณคมน์ ดังนี้      

              พุทธัง สรณัง คัจฉามิ

     ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ              สังฆัง สรณัง คัจฉามิ

เมื่อบริกรรมภาวนาจบแล้วก็ให้วนกลับมาเริ่มต้นใหม่ เช่นนี้เรื่อยไป

มีสิ่งที่ควรทราบเพิ่มเติมก็คือ ขณะที่บริกรรมภาวนาอยู่นั้นใหมีสติระลึกอยู่กับคำภาวนาโดยไม่ต้องสนใจกับลมหายใจ คงปล่อยให้การหายใจเข้า-ออก เป็นไปตามธรรมชาติ ปราศจากการควบคุมบังคับภาวนาด้วยใจที่สบายๆ และให้ยินดีกับองค์พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ที่เกิดขึ้นที่จิต เมื่อจิตมีความสงบสว่าง ก็น้อมแผ่เมตตาออกไปโดยว่า 

                 " พุทธัง อนันตัง ธัมมัง จักรวาลัง สังฆัง นิพพานะ ปัจจะโยโหตุ "

แล้วตั้งใจภาวนาต่อไปเมื่อจิตถอนขึ้นจากความสงบ ให้ยกเอากายหรือเรื่องหนึ่งเรื่องใดขึ้นพิจารณาโดยน้อมไปสู่พระไตรลักษณ์คือ อนิจจัง ความไม่เที่ยงแท้ เมื่อรู้สึกว่าจิตเริ่มซัดส่ายหรือขาดกำลังในการพิจารณา ก็ให้วนกลับมาภาวนาคาถาไตรสรณคมน์อีก เพื่อดึงจิตให้เข้าสู่ความสงบอีกครั้ง ทำสลับกันเช่นนี้เรื่อยไปจนกว่าจะเลิก

ก่อนจะเลิก ให้อาราธนาพระเข้าตัวโดยว่า

" สัมเพพุทธา สัพเพธัมมา สัมเพสังฆา พะลัปปัตตา ปัจเจกานัญ จะยังพะลัง อะระหันตานัญ จะเตเชนะรักขัง พันธามิสัพพะโส พุทธังอธิษฐานมิ ธัมมัง อธิษฐานมิ สังฆัง อธิษฐานมิ "

แล้วแผ่เมตตาอีกครั้ง โดยว่าเช่นเดียวกับที่กล่าวแล้วในตอนต้น

อนึ่ง การภาวนานี้ท่านให้ทำให้ได้ทุกอิริยาบถ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน การปฏิบัติจึงจะก้าวหน้า และชื่อว่าตั้งอยู่ในความไม่ประมาท ในตอนนั้นหลวงปู่จะแจกสมเด็จให้กำเวลานั่ง

คัดลอกจากพระผู้จุดประทีปในด้วยใจ พระราชทานเพลิงหลวงปู่ดู่ปี๒๕๓๔ เขียนโดยอาจารย์ ศุภรัตน์ แสงจันทร์


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เรื่องเล่าหลวงปู่ดู่

  ๓๗เรื่องเล่าหลวงปู่ดู่กับธรรมะลึกซึ้งที่เข้าใจได้ง่ายและนำไปใช้ได้ทันที ๑. ใ ห้ รู้ จั ก บุ ญ การทำบุญทำกุศลนั้น โปรดอย่านึ...